การดูดเสมหะ-การ Suction

การดูดเสมหะ-การ Suction

การดูดเสมหะ-การ Suction

การดูดเสมหะ-การ Suction

การดูดเสมหะ คือ

การใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ 

การดูดเสมหะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว หรือปอดทำหน้าที่ลดลงทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้

การดูดเสมหะควรทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  1. หายใจเสียงดัง
  2. กระสับกระส่าย
  3. อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
  4. มีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

การเลือกขนาดสายดูดเสมหะที่เหมาะสม

  • ผู้ใหญ่ ใช้ขนาด 12-14 French
  • เด็ก ใช้ขนาด 8-10 French
  • ทารก ใช้ขนาด 5-8 French

ปรับแรงดันเครื่องดูดเสมหะให้เหมาะสม ดังนี้

  • ทารกคลอดก่อนก าหนดใช้ความดัน 40-80 มม.ปรอท
  • เด็กเล็กใช้ความดัน 50 – 90 มม.ปรอท 
  • เด็กโตใช้ความดัน 90 – 100 มม.ปรอท
  • ผู้ใหญ่ใช้ความดัน 110 – 120 มม.ปรอท

มีการประเมินอาการแสดงของความเพียงพอหลังการดูดเสมหะ ที่มีประสิทธิภาพ คือ

  • ความแรงของการหายใจลดลง
  • ความถี่ของการหายใจลดลง
  • O2 Saturate สูงขึ้น 
  • สีผิวดีขึ้น/เป็นปกติ 

ขั้นตอนและวิธีการดูดเสหมะ

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้ Alcohol – Based Hand Rub
  2. ควรให้ผู้ป่วยงดอาหารประเภทข้าว ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือนมก่อน 2 ชั่วโมง ก่อนดูดเสมหะ
  3. จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30ֹ – 45ֹ องศา
  4. สอดสายยางดูดเสมหะเข้าท่อทางเดินหายใจลึกเท่ากับท่อทางเดินหายใจ
  5. ระยะเวลาที่ใช้ในการดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่เกิน 10 -15 วินาที
  6. ดูดเสมหะไม่เกิน 3 ครั้ง/รอบ ของการดูดเสมหะ ถ้ายังไม่หมดให้ต่อออกซิเจนกลับเข้าไปหรือบีบ Ambu Bag ใหม่แล้วจึงทำการดูดเสมหะซ้ำ

ร้านบ้านยาเวชภัณฑ์มีสินค้าสำหรับดูแลและตรวจเช็คสุภาพให้เลือกสรรอย่างมากมาย สนใจคลิกที่นี่ค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *