Showing all 7 results

โรคเบาหวานและค่าระดับน้ำตาลในเลือด

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด โดยการใช้เครื่องวัดน้ำตาล ในการตรวจหาการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือจากการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ น้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต ระบบประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจเบาหวาน

EasyMax แผ่นตรวจน้ำตาล 50 ชิ้น

฿750

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจเบาหวาน

เข็มเจาะเลือดตรวจน้ำตาล Accu-Chek Softclix Lancets 25 ชิ้น

฿100

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจเบาหวาน

เข็มเจาะเลือดตรวจน้ำตาล Onetouch Ultra Soft Lancets 25 ชิ้น

฿120

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจเบาหวาน

เข็มเจาะเลือดตรวจน้ำตาล Twist Lancets 28G 25 ชิ้น

฿70

ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจเบาหวาน

แผ่นตรวจวัดน้ำตาล Terumo Medisafe EX มีแผ่นพร้อมเข็ม 30 ชิ้น

฿550

โรคเบาหวานและค่าระดับน้ำตาลในเลือด เกิดได้อย่างไร

ในคนปกติในระยะที่ไม่ได้รับประทานอาหารตับจะมีการสร้างน้ำตาลออกมาตลอดเวลา เพื่อให้เป็นอาหารของสมองและอวัยวะอื่นๆ ในระยะหลังรับประทานอาหารพวกแป้งจะมีการย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อเพิ่มการนำน้ำตาลไปใช้ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมาเป็นปกติ ในผู้ป่วยเบาหวานที่อาจเกิดจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลินทำให้ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ขณะเดียวกันมีการย่อยสลายไขมันและโปรตีนในเนื้อเยื่อมาสร้างเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง จนล้นออกมาทางไตและมีน้ำตาลในปัสสาวะ เป็นที่มาของคำว่า เบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลคนปกติจะอยู่ในช่วง 70-99 มก./ดล. ก่อนรับประทานอาหารเช้า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจากค่าปกติไม่มากอาจไม่มีอาการชัดเจน จะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัย โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดหรือเครื่องตรวจเบาหวาน ถ้าไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานานผู้ป่วยอาจมาตรวจพบด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสูงกว่าค่าปกติมาก อาจมีอาการจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือจากภาวะแทรกซ้อนได้แก่
  • ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการที่น้ำตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงน้ำออกมาด้วย
  • คอแห้ง ดื่มน้ำมาก กระหายน้ำ เกิดจากที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ
  • หิวบ่อยทานจุ แต่น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน
  • แผลหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย น้ำตาลที่สูงทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง
  • คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
  • ตาพร่ามัว อาจเกิดจากน้ำตาลคั่งในเลนซ์ตา ดรคจอประสาทตาจากเบาหวานหรือต้อกระจก

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน-เป็นโรคเบาหวานหรือไม่

การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
  1. มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
  2. ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้า ตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
  3. การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคสตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป
  • ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ
  • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัม ที่อยู่ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่า ความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง
ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่าเป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน

ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน

  • ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังข้างต้น
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • เคยมีระดับน้ำตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • คลอดบุตรหนักมากกว่า 4 กก.
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีไขมันในเลือดผิดปกติ
  • มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง
  • มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่ โรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง
ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวแม้ไม่มีอาการของโรคเบาหวานควรตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่ายสงสัย ควรตรวจซ้ำในระยะ 1 ปี

ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

  • เบาหวานชนิดที่ 1  มักพบในคนอายุน้อย มักต่ำกว่า 30 ปี มากที่สุดเกิดในช่วงวัยรุ่น เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอม อาจเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือเลือดเป็นภาวะคีโตน การรักษาต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5 %
  • เบาหวานชนิดที่ 2  มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีการหลั่งอินซูลินลดลง มักมีรูปร่างอ้วนและมีประวัติดรคเบาหวานในครอบครัว สามารถรักษาด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล ในรายที่เป็นนานๆ การสร้างอินซูลินลดลงมากๆ ก็อาจต้องฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบมากกว่า 95%
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะ เช่น โรคเบาหวานที่สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โรคของตับอ่อน ฮอร์โมนผิดปกติ จากยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
  • โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะผู้ป่วยตั้งครรภ์ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษามักต้องใช้อินซูลิน หลังคลอดเบาหวานมักหายไป และผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อมีอายุมากขึ้น

การป้องกันโรคเบาหวาน

การให้โภชนะบำบัดที่เหมาะสม การออกกำลังกายและ การลดน้ำหนัก 5-10% ในผู้ที่อ้วนสามารถลดการเป็นเบาหวานได้

การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด จะต้องควบคุมโรคไปตลอดชีวิตและอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ การรักษาได้แก่
  • การควบคุมอาหาร
  • การออกกำลังกาย
  • การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล และ/หรืออินซูลิน
  • การได้รับสุขศึกษาในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ และสามารถปฎิบัติตนในการควบคุมดรคเบาหวานได้ถุกต้อง

โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน

เป็นผลจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี อาจมีปัจจัยอื่นร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ การเกิดเลือดเป็นกรดจากคีโตน ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูงจากการติดเชื้อ การเกิดน้ำตาลต่ำจากยาที่ใช้รักษา ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การควบคุมเบาหวานไม่ดีในระยะยาว ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในระยะยาว ได้แก่ โรคจอประสาทตาจากเบาหวาน โรคไตวาย โรคประสาทส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย นำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและพิการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา

เป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวาน

เป้าหมายการควบคุมโรคเบาหวานตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา เป้าหมาย
  1. น้ำตาลก่อนอาหาร (มก./ดล.)  90-130
  2. น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง (มก./ดล.)  <180
  3. น้ำตาลเฉลี่ย HbA1C (%)  <7
  4. โคเลสเตอรอล (มก./ดล.)  <180
  5. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.)  >40
  6. แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <100
  7. ไตรกลีเซอไรด์ (มก./ดล.)  <150
  8. ดัชนีมวลกาย (กก./ตรม.)  <23
  9. ความดันโลหิต (มม.ปรอท)  <130/80
  10. ออกกำลังกาย (นาที/สัปดาห์)  >150

เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือด

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

สรุป

จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายๆ คนอาจมองข้าม ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคก็เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้หรือมีการผลิตอินซูลินลดลง และอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเบาหวานนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงต้องมีการควบคุมโรคไปตลอดชีวิต และอาจนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่างๆ อย่างเช่น โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทางที่ดีควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์และควรแบ่งเวลามาออกกำลังกายบ้าง เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและการมีอายุที่ยาวนานขึ้น

ร้านบ้านยาเวชภัณฑ์มีสินค้าสำหรับดูแลและตรวจเช็คสุภาพให้เลือกสรรอย่างมากมาย สนใจคลิกที่นี่ค่ะ