การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต

การอ่านค่าความดันโลหิต

การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต

การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต   ความดันโลหิตมี 2 ค่า คือ

ความดันตัวบน(Systolic) คือ เป็นความดันช่วงที่หัวใจบีบตัว

ความดันตัวล่าง (Diastolic) คือ เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัว

โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ความดันโลหิตค่าใดค่าหนึ่งหรือทั้งสองค่าสูงกว่าค่า   ปกติต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

วิธีการประเมินว่าความดันโลหิตของคุณสูงหรือไม่ 

ให้วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตทันทีหลังจากติ่นนนอน และก่อนนอน โดยวัดช่วงละ 2 ครั้ง ห้างกันประมาณ 2-3 นาที วัดอย่างน้อย 7 วันต่อเดือน

วิธีการคำนวณค่าความดันโลหิตเฉลี่ย นำค่าความดันโลหิตดตัวบนของครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ของทั้ง 7 วันมาบวกกันและ หารด้วย 24 และทำแบบเดียวกันสำหรับความดันโลหิตตัวล่าง

หากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่สูงกว่า 135 มม. ปรอท (ความดันโลหิตตัวบน) และ/หรือ 85 มม. ปรอท (ความดันโลหิตตัวล่าง) คุณอาจมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรรีบปรึกษาแพทย์

การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต

เกณฑ์ความดันโลหิต (หน่วยวัดความดันเป็น มม.ปรอท)

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดค่ามาตรฐานของความดันโลหิต ไว้ดังนี้

  • ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม    

ความดันตัวบน      ต่ำกว่า 120 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     ต่ำกว่า 80 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตปกติ    

ความดันตัวบน      120 – 129 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     80 – 84 มม. ปรอท

  • เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง

ความดันตัวบน      130 – 139 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     85 – 89 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1

ความดันตัวบน      140 – 159 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     90 – 99 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2

ความดันตัวบน      160 – 179 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     100 – 109 มม. ปรอท

ตารางอ่านค่าอัตราการเต้นของหัวใจ

ประเภท                  จำนวนครั้งต่อนาที

ดีเยี่ยม                   40 – 60   ครั้งต่อนาที

ดี                              61 – 70    ครั้งต่อนาที

พอใช้                      71 – 85     ครั้งต่อนาที

สูงเกินไป                86 – 100   ครั้งต่อนาที

ผิดปกติ                  มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที

โรคความดันโลหิตสูงจะก่อให้เกิดปัญหากับ

โรคความดันโลหิตสูงมักถูกมองว่าเป็นฆาตกรเงียบ จากความร้ายกาจที่มักไม่แสดงอาการ คนส่วนใหญ่จึงสังเกตไม่เห็น จนกว่าจะมีอาการแทรกซ้อน และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะก่อให้เกิดปัญหากับ

  • สมอง ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ แตก ตัน ก่อให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต
  • หัวใจ ก่อให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน และ หัวใจขาดเลือด
  • ไต ทำให้ไตวายเรื้อรัง
  • ตา ทำให้เลือดออกที่จอตา และประสาทตาเสื่อม

รู้ทันฆาตกรเงียบ ด้วยการวัดความดันที่บ้าน

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงอันตราย เราจึงควรรู้ค่าความดันโลหิตของเราให้ดี ที่สำคัญเราควรวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำด้วย 2 สาเหตุหลัก คือ

  • บางคนเป็นโรคกลัวหมอ ดังนั้นการให้หมอหรือพยาบาลวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล อาจทำให้เครียดหรือกังวล ทำให้ค่าความดันโลหิตสูงกว่าความจริง
  • ความดันโลหิตของเราเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน ขึ้นกับกิจกรรมที่ทำ ความเครียด เวลาที่วัด เราจึงควรวัดความดันโลหิตที่บ้านในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อจะได้รู้สภาวะความดันโลหิตเฉลี่ยที่ถูกต้องของเราในขณะพัก เมื่อวัดได้ว่าความดันโลหิตสูงขึ้น เราจะได้ทราบว่าเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร

สัญญาณเตือนของโรคความดันโลหิตสูง

รีบพบแพทย์ หากมีอาการปวดหรือเวียนศรีษะ เจ็บหน้าอก เลือดออกที่จมูกบ่อยๆ รู้สึกเมื่อยล้า มีปัญหาการมองเห็น เพราะนี่เป็นสัญญาณเตือนของโรความดันโลหิตสูง

คุณเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

ความดันโลหิตสูงเป็น 1 ใน 5 โรคที่คนไทยเป็นกันมากที่สุดนอกจากโรคเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง และอัมพาต โดยกว่า 30% ของคุณไทยที่อายุ 45 – 70 ปี ป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนคนอายุมากกว่า 70 ปี ป่วยเป็นโรคนี้ถึงกว่า 50%

ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

  • อยู่ในวัยกลางคน ความดันโลหิตสูงพบมากในคนอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
  • มีน้ำหนักตัวมาก หัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายแรงขึ้น
  • เป็นโรคเบาหวาน คนเป็นเบาหวานมีโอกาสความดันโลหิตสูงกว่าคนไม่เป็นเบาหวาน
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มกาแฟ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเพิ่มความดันโลหิต
  • เครียด คนในเมืองจึงมีโอกาสความดันโลหิตสูงมากกว่าคนในชนบท
  • รับประทานเค็ม เพราะเมื่อรับประทานเกลือโซเดียมมากๆร่างกายจะกระตุ้นให้อยากดื่มน้ำ เมื่อภายในร่างกายมีน้ำมากขึ้น ระบบหมุนเวียนโลหิตก็ยิ่งต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงในที่สุด

วิธีป้องไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

คุณสามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลความดันโลหิตสูงได้หลายวิธี ซึ่งดีกว่าการรักษาที่ปลายเหตุด้วยการกินยา

ลดน้ำหนักส่วนเกิน ควบคุมดัชนีมวลกาย(BMI) ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม

วิธีคำนวณ   BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)^2

เกณฑ์                           ดัชนีมวลกาย (BMI)

เหมาะสม                      18.5- 22.9

น้ำหนักมาก                  23.0 – 24.9

อ้วน                              มากกว่า 25.0

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินวันละ 10,000 ก้าว ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกพบว่าสามารถ ช่วยลดค่าความดันโลหิต เลิกดื่มแอลกอออล์ และงดสูบบุหรี่

กินอาหารลดความดัน ลดเกลือโซเดียม (กินน้ำปลาไม่เกิน1/2 ช้อนโต๊ะ/มื้อ) หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด กินผักผลไม้สดและปลามากขึ้น กินเนื้อสัตว์น้อยลง โดยเฉพาะเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ที่มีหนังติดมัน และเนื้อปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน

 หายใจช้า+ฝึกสมาธิ เพราะการหายใจช้า คือ หายใจต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาทีเป็นเวลา 15 นาทีต่อวัน จะช่วยลดความดันได้ และการฝึกสมาธิยังช่วยให้เราหายใจช้าลงและช่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *