การเกิดแผลกดทับ แผลกดทับเกิดจาก-ระดับแผลกดทับ-การดูแลแผลกดทับ

การดูแลแผลกดทับ

การเกิดแผลกดทับ

การเกิดแผลกดทับ แผลกดทับเกิดจาก-ระดับแผลกดทับ-การดูแลแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ (Bed Sore คือ)

1. การเกิดแผลกดทับ

แผลกดทับเกิดจากอะไร

แผลกดทับ เกิดจาก น้ำหนักของผู้ป่วยที่กดทับลงตรงบริเวณที่เป็นส่วนโปนของกระดูก เช่น บริเวณศรีษะ หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก ส้นเท้า เป็นต้น

ดังนั้นผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ ผู้ป่วยที่นอนไม่รู้สึกตัวและผู้ป่วยที่ไม่สามารถพลิกตัวได้ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด จึงมีโอกาสเกิดแผลกดทับขึ้นได้ โดยเฉพาะบริแเวณแผ่นหลัง บริเวณก้นกบ ก้น ข้อศอก สะโพก และบริเวณหลังเท้า

โดยปกติเส้นเลือดภายในร่างกายนำเลือดไปเลี้ยงบริเวณผิวหนังโดยนำพาสารอาหาร อากาศออกซิเจน และนำของเสียออกจากบริเวณภายในของผิวหนัง เมื่อเส้นเลือดเหล่านี้ถูกกดทับให้แคบลงหรือปิดไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่ได้รับสารอาหารและไม่สามารถขจัดของเสียออกได้ เซลผิวหนังจึงเริ่มตายและเกิดเป็นแผลขึ้น เรียกว่า แผลกดทับ

จำนวนเซลผิวหนังตายเท่าไหร่ แผลกดทับก็มีขนาดใหญ่ขึ้นและลึกมากขึ้นเท่านั้น บางรายเป็นแผลกดทับลึกถึงกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเพิ่มขึ้นอีก

2. ระดับความรุนแรงของแผลกดทับมี 4 ระดับ คือ

ระดับแผลกดทับมีกี่ระดับ?

แผลกดทับระดับที่ 1 ผิวหนังแดงไม่เปลี่ยนสีผิวปกติแม้จะไม่มีการกดทับที่ผิวหนังบริเวณนั้นอีก
แผลกดทับระดับที่ 2 ผิวหนังเริ่มแตกเป็นรอย เกิดแผลตื้นๆหากไม่ได้รับการรักษาจะขยายวงกว้าง
แผลกดทับระดับที่ 3 ผิวหนังแตกลึก แผลเริ่มลามลึกผ่านชั้นไขมันไปถึงเนื้อเยื่อภายใน
แผลกดทับระดับที่ 4 ผิวหนังแตกลึกถึงเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและกระดูก หากมีการติดเชื้อขึ้นจะทำให้แผลเปลี่ยนเป็นสีเขียวและมีกลิ่นเหม็นรุนแรง

3. วิธีการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ

วิธิการดูแลแผลกดทับ วิธีการพยาบาลแผลกดทับ

  • ควรเปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม เพื่อลดแรงกดดันที่ผิวหนัง ไม่ให้ผิวสัมผัสต้องจม และเสียดสีอยู่กับที่ใดที่หนึ่งนานๆ
  • ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน และเครื่องนอนต่างๆ ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
  • ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ หรือที่นอนที่บุด้วยเนื้อเจล ซึ่งช่วยลดแรงต้านเมื่อมีแรงกดทับจากการนอนหรือนั่ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
  • ควรยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง โดยมีผ้ารองยกและใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเสียดสี
  • ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะภายหลังที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง
  • ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
  • ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลจำนวนมาก นอกจากนี้ต้องดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ บ่อยๆ เพื่อช่วยให้แผลเยียวยาตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
  • หากเป็นรอยแดงๆ ไม่ยอมหายไปสักที แม้จะทำตามวิธีป้องกันแล้วก็ตาม หรือผู้ที่เป็นแผลเกิดมีไข้ แผลเป็นสีแดงเข้มขึ้น เกิดหนองไหลออกมาจากแผล มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีอาการบวม หรือเจ็บปวดมากขึ้น อย่างหนึ่งอย่างใดเหล่านี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นอาการของการติดเชื้อที่แผลได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *