โรคภูมิแพ้หอบหืด การใช้ยาในการรักษาและป้องกันโรคหอบหืด

โรคภูมิแพ้หอบหืด

มารู้จักอาการของ โรคภูมิแพ้หอบหืด กันคะว่ามีอาการเป็นอย่างไร อาการ “หอบหืด” เป็นคำที่ชาวบ้านเรียกกัน เมื่อมีการ หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก อันเนื่องมาจากการหดตีบของทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า โรคหืด

อาการของ โรคภูมิแพ้หอบหืด

อาการและสาเหตุของโรคภูมิแพ้หอบหืด

โรคหืด เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งของทางเดินหายใจส่วนล่างหรือปอด เกิดจากการแพ้เมื่อมีสิ่งกระตุ้นหรือมีความไวตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบ การหดตัวของหลอดลม และทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการ “หืด” 

อาการโรคภูมิแพ้หอบหืด จะมีหลากหลายอาการ เช่น

  • ไอ
  • หายใจลำบาก
  • มีเสียงหวีด
  • หายใจสั้นๆ
  • มีเสมหะมาก

อาการของโรคภูมิแพ้หอบหือ

อาการ “หอบหืด” เป็นคำที่ชาวบ้านเรียกกัน เมื่อมีการหายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ออก แน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากการหดตีบของทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า โรคหืด หรือ โรคภูมิแพ้หอบหืด โรคนี้จะกลับมาสู่ภาวะปกติได้เองหรือเมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม

สาเหตุของการจับหืด เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น

  • สารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ ยา ไรฝุ่น ขนสัตว์
  • อาหารบ้างประเภท
  • สารเคมีบ้างประเภท
  • การออกกำลังกาย
  • ความเครียด

สาเหตุของ โรคภูมิแพ้หอบหืด

วิธีการป้องกัน โรคภูมิแพ้หอบหืด

หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้และสารกระตุ้นการจับหืด เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจึงควรสังเกตว่า สารหรือสิ่งใดที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งถ้าพบสารหรือสิ่งนั้นแล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะไม่ทำให้เกิดอาการจับหืดอีก

ยาที่ใช้ในการรักษา โรคภูมิแพ้หอบหืด

ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีการจับหืดอยู่ ยาก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาและบรรเทาอาการ ยาที่ใช้ในการรักษา โรคภูมิแพ้หอบหืด แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามการออกฤทธิ์ของยา คือ

รักษาโรคภูมิแพ้หอบหืด

1. ยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการจับหืด 

ซึ่งจะมีทั้ง แบบยาสูด ยาเม็ด และ การพ่นยาผ่านเครื่องพ่นยาขยายหลอดลม ส่วนใหญ่ยาที่ใช้ในกรณีนี้มักเป็นยาที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลมที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น ตัวอย่างเช่น ยาซาลบูทามอล (salbutamol) ยาเทอร์บูทาลีน (terbutaline) เป็นต้น

ยาขยายหลอดลมทั้ง 2 ตัวยานี้ มีทั้งที่เป็นรูปแบบ ชนิดสูด (inhaler) และชนิดเม็ด (tablet) แต่ชนิดที่ออกฤทธิ์ ได้เร็วที่สุด คือ ชนิดสูดซึ่งมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ภายใน 5 นาทีหลังการสูดยา ซึ่งเป็นข้อดีที่ตัวยาเดินทางตามการสูดจากปากเข้าสู่หลอดลม ออกฤทธิ์โดยตรงต่อปอดได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

ในขณะที่ยาขยายหลอดลมในรูปแบบชนิดเม็ดจะมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ประมาณ ๓๐ นาที หลังจากการกินยา เพราะตัวยาจะต้องเดินทาง ผ่านทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจึงเดินทางไปออกฤทธิ์ขยายหลอดลมที่ปอด จึงเสียเวลาและใช้ปริมาณ ยาที่มากกว่า แต่มีความปลอดภัยน้อยกว่า

  • ยาเม็ด ใช้สำหรับพกติดตัวและใช้เมื่อมีอาการทันที ยาขยายหลอดลมเป็นยาที่ใช้เมื่อมีอาการหอบหืด และควรหยุดใช้เมื่อไม่มีอาการแล้ว ยาขยายหลอดลมในรูปแบบชนิดเม็ดจะมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ประมาณ ๓๐ นาที หลังจากการกินยา

ยารักษาโรคหอบหืด

  • ยาสูด ใช้สำหรับพกติดตัวและใช้เมื่อมีอาการทันที ยาขยายหลอดลมเป็นยาที่ใช้เมื่อมีอาการหอบหืด และควรหยุดใช้เมื่อไม่มีอาการแล้ว ชนิดสูดซึ่งมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ภายใน 5 นาทีหลังการสูดยา

วิธีการสูดยาอย่างถูกต้อง

ยาสูดเป็นยาที่เดินทางตามการสูดจากปากเข้าสู่หลอดลมออกฤทธิ์โดยตรงต่อปอด (โดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร ตับ และกระแสเลือด) จึงใช้ปริมาณยาที่น้อยเมื่อ

เทียบกับยาชนิดเม็ดกิน จึงออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย  แต่ในผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับยาสูด อาจไม่คุ้นเคยและไม่มีประสบการณ์ ซึ่งถ้าได้ฝึกฝนสักระยะหนึ่งก็จะเกิดความคล่องแคล่ว ทำให้การสูดยาได้อย่างถูกต้อง ในการสูดยามีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยการเปิดฝาและจับหัวตั้งขึ้น
  2. ตามด้วยการเขย่าขวดยา เพื่อให้ตัวยากระจาย อย่างสม่ำเสมอ
  3. เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย และหายใจออกให้สุด
  4. ใช้ปากอมปลายท่อของยาไว้ หรือพ่นยาห่างจากปากที่เปิด 1-2 นิ้ว แล้วกดเพื่อพ่นยา เข้าสู่ปาก พร้อมๆ กับหายใจเข้าช้าๆ
  5. หายใจเข้าช้าๆ (3-5 วินาที หรือ นับ 1-5)
  6. กลั้นหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ (สัก 10 วินาที หรือ นับ 1-10)

ในกรณีที่เปิดขวดใหม่ ควรพ่นยาทิ้งสัก 2-3 ครั้ง เพื่อให้ได้ปริมาณยาที่คงที่ก่อนใช้ยาจริง ถ้าต้องการพ่นยาซ้ำ ควรให้ห่างจากครั้งแรกสัก 1 นาที เพื่อให้ยาไปปอดได้เต็มที่

และถ้าเป็นยาชนิดสเตียรอยด์ (Steroid) ควรอมน้ำกลั้วปากและคอ เพื่อล้างยาที่ไปเกาะช่องปาก หลังพ่นยาทุกครั้ง เพราะการมียาสเตียรอยด์ตกค้างในปาก เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้

2. ยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการ

ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง ผู้ป่วยที่ใช้ยา กลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะจับหืดได้บ่อย รุนแรงหรือในรายที่มีอาการเรื้อรัง ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย หรือนานๆ ครั้ง และไม่รุนแรง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ เพราะยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบหรือตีบตัวของหลอดลมจึงคอยควบคุมอาการไม่ให้จับหืด แต่ไม่มีฤทธิ์ขยายหลอดลมหรือใช้เมื่อมีการจับหืดแล้วไม่ได้ผล ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น (inhaled corticosteroids) ยาทีโอฟิลลีน (theophylline) ยาต้านตัวรับลิวโคไทรอีน (leukotriene antagonists) เป็นต้น

การรักษา โรคภูมิแพ้หอบหืด

  • ยาสตีรอยด์

มีทั้งชนิดสูดและชนิดเม็ด โดยชนิดสูดเป็นชนิดที่ได้ผลดีและปลอดภัยที่สุด เพราะตัวยาที่สูดทาง ปากจะเข้าสู่หลอดลมออกฤทธิ์โดยตรงต่อปอด และหลัง สูดยาควรบ้วนปากกลั้วคอเพื่อล้างตัวยาที่ตกค้างในช่องปากทิ้งไป ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในปากได้

ยาสตีรอยด์ชนิดเม็ดเป็นชนิดที่ได้ผลดีเช่นกัน แต่เกิดอาการ อันไม่พึงประสงค์ที่อันตรายต่อชีวิตได้ ถ้ามีการใช้ติดต่อกันนานเกินกว่า 7 วัน จึงควรใช้ยาสตีรอยด์ชนิดเม็ด เมื่อจำเป็นและควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

  • ยาขยายหลอดลมชนิดที่ใช้เพื่อควบคุมอาการหืด

มักเป็นยาที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน เช่น ยาทีโอฟิลลีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดี มีในรูปแบบยาเม็ด และราคาถูก แต่มีข้อเสียที่ความเข้มข้นของยาในเลือดในขนาดที่ใช้ในการรักษา มีขนาดใกล้เคียงกับความเข้มข้นของยาในเลือดในขนาดที่เกิดพิษต่อหัวใจและสมอง จึงไม่ค่อยนิยมใช้เท่ากับยาสตีรอยด์

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือแพ้กาแฟ ก็ไม่ควรใช้ยาทีโอฟิลลีนนี้ เพราะจะกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วและใจสั่นได้

  • ยาต้านตัวรับลิวโคไทรอีน เป็นยาใหม่ที่สุดที่ได้ผลดีพอสมควรในการควบคุมโรคหืด มีชนิดเม็ด แต่ราคาค่อนข้างสูง จึงนิยมเก็บไว้ใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผล

บทสรุป : ในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอาการหอบหีดอีก

เนื่องจาก โรคภูมิแพ้หอบหีด เป็น โรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง จึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการจับหีดอีก ก็โดยการหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นการจับหืด

โรคภูมิแพ้หอบหืด

ผู้ป่วยจึงควรสังเกตว่า สารหรือสิ่งใดที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งถ้าพบสารหรือสิ่งนั้นแล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะไม่ทำให้เกิดอาการจับหืดอีก

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *